เลือกหน้า

หลังคาโปร่งแสง


หลังคาโปร่งแสง
แตกต่างกันยังไง

วัสดุที่ใช้ทำหลังคาโปร่งแสงยอดนิยม ที่ช่วยให้บ้านสว่างจากแสงธรรมชาติ

หลังคาโปร่งแสง มีอีกหนึ่งชื่อเรียกคือ ‘หลังคาใส’ เป็นอีกหนึ่งประเภทของหลังคาที่หลายบ้านนิยมเลือกใช้ เพราะจะเป็นการเพิ่มแสงจากธรรมชาติให้สาดส่องลงมาในบ้าน ทำให้รู้สึกไม่อึดอัด บ้านดูมีชีวิตชีวา 
พื้นที่ที่นิยมใช้หลังคาโปร่งแสงหรือพื้นที่ที่มีการปลูกต้นไม้ เช่น พื้นที่ห้องครัว ลานซักล้าง ตากผ้า เป็นต้น

หลังคาโปร่งแสงแต่ละชนิดก็จะมีการผ่านของแสงที่แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับวัสดุและสีของวัสดุนั้น ๆ ซึ่งจะมี 2 ลักษณะ คือ ชนิดใสขุ่น โดยปริมาณแสงจะส่องผ่านอยู่ประมาณไม่เกิน 50 เปอร์เซ็นต์ และแบบใสเคลีย ลักษณะคล้ายกระจก ซึ่งแสงจะส่องผ่านมากกว่า อยู่ที่ 40 ถึง 100 เปอร์เซ็นต์ แล้วแต่สีของแผ่นนั้น

4 ประเภทหลังคาโปร่งแสงยอดนิยม แต่ละประเภทแตกต่างกันอย่างไร?

สำหรับหลังคาโปร่งแสง หากแบ่งแยกออกตามวัสดุที่สามารถนำมาใช้งานได้จริงแล้ว จะสามารถแบ่งออกไปเป็น 4 วัสดุ แต่ละวัสดุก็มีข้อดีและข้อด้อยที่แตกต่างกันออกไป ซึ่งวัสดุที่ใช้ทำหลังคาโปร่งแสงดังกล่าว ได้แก่

  • แผ่นไฟเบอร์กลาส
    แผ่นไฟเบอร์กลาส เป็นวัสดุที่ใช้สำหรับการทำหลังคาโปร่งแสง ที่มีราคาย่อมเยาและหาซื้อได้ทั่วไป ถึงแม้จะมีคุณสมบัติบางประการที่ด้อยกว่า แต่ก็สามารถใช้ทดแทนวัสดุอื่น ๆ ได้ เนื่องจากแผ่นไฟเบอร์กลาสมีน้ำหนักเบา ดัดโค้งได้ตามความต้องการ อีกทั้งยังสามารถติดตั้งร่วมกับแผ่นหลังคามาตรฐานประเภทอื่น ๆ ได้ แผ่นไฟเบอร์กลาสจึงได้รับความนิยมสูง นอกจากนี้ยังมีให้เลือกใช้งานด้วยกันหลายรุ่น ทั้งแบบเรียบและแบบลูกฟูก อีกทั้งยังมีสีให้เลือกมากมาย ซึ่งในปัจจุบันแผ่นไฟเบอร์กลาสก็สามารถกันรังสียูวีได้ 99% มีความทนทานมากขึ้นและราคาไม่แพง
  • ข้อดี
    • มีราคาย่อมเยา
    • สามารถติดตั้งร่วมกับแผ่นหลังคามาตรฐานประเภทอื่น ๆ ได้
    • มีน้ำหนักเบา
    • กันรังสี UV ได้ 99%
    • มีความยืดหยุ่นสูง
  • ข้อด้อย
    • มีอายุการใช้งานประมาณ 7-10 ปี
    • ลดเสียงรบกวนได้น้อย
  • ข้อควรระวัง
    • เมื่อตัวแผ่นถูกความร้อนจากแสงแดดเป็นเวลายาวนาน อาจทำให้เกิดรอยเป็นเส้น ๆ ได้
    • หากใช้งานระยะยาว ตัวแผ่นอาจซีดได้ง่ายกว่าวัสดุอื่น ๆ
  • แผ่นโปร่งแสงอะคริลิก
    แผ่นโปร่งแสงอะคริลิก เป็นแผ่นโปร่งแสงที่ได้รับความนิยมในการใช้ทำหลังคาโปร่งแสง มีลักษณะพื้นผิวที่เรียบ เงา และโปร่งใสเหมือนกับกระจกแท้แต่มีน้ำหนักที่เบากว่าหลายเท่า มีคุณสมบัติในการกันความร้อนที่ดี เหมาะกับอากาศร้อนในประเทศไทย วัสดุมีความหนาทำให้เสียงฝนตกกระทบเบาและแข็งแรง ทนทาน แต่หากช่างติดตั้งไม่ชำนาญอาจทำให้เกิดปัญหาแผ่านแตกร้าวได้ แผ่นอะคริลิกใสไม่กรอบและไม่เป็นฝ้า เหมาะสำหรับการทำกันสาดหรือหลังคาบ้านสไตล์โมเดิร์น แผ่นโปร่งแสงอะคริลิก จะมีให้เลือกใช้งานอยู่ด้วยกันหลายรุ่น และแต่ละรุ่นก็แตกต่างกันออกไป ทั้งในเรื่องของการกรองแสง กันความร้อน และการรับน้ำหนัก
  • ข้อดี
    • มีลักษณะคล้ายกับกระจก จึงสามารถออกแบบให้คล้ายกับกระจกได้ โดยมีข้อดีคือน้ำหนักน้อยกว่ากระจกหลายเท่า
    • มีความทนทานต่อสภาพอากาศ 
    • เกิดปัญหาแตก และเหลืองได้ช้ากว่าวัสดุประเภทอื่น ๆ
    • กันความร้อนได้สูงถึง 50%
  • ข้อด้อย
    • มีราคาสูง
    • ทนแรงกระแทกได้น้อยกว่าวัสดุโพลีคาร์บอเนต
    • มีโอกาสแตกร้าวได้ง่าย เนื่องจากมีความยืดหยุ่นต่ำ
  • ข้อควรระวัง
    • ควรติดตั้งโดยช่างที่มีความเชี่ยวชาญเท่านั้น และต้องติดตั้งตามมาตรฐานโครงสร้างที่กำหนด เพื่อลดความผิดพลาดในระหว่างการติดตั้ง
    • ในระหว่างที่ติดตั้ง ควรระมัดระวังของมีคมขีดข่วน เพราะอาจจะเกิดรอยได้ง่าย 
    • หากต้องการทำความสะอาด ควรล้างด้วยน้ำเปล่าหรือน้ำสบู่อ่อนๆ เท่านั้น หากใช้น้ำยาเช็ดกระจกที่มีสารเคมีแรงเกินไป อาจจะทำให้แผ่นอะคริลิกมีรอยด่างได้
    • ไม่ควรใช้สารเคมีที่มีกรดรุนแรงเช่น แล็กเกอร์ แก๊สโซลีนหรือทินเนอร์ ในการใช้ทำความสะอาดกระจก เพราะจะไปทำลายผิวหน้าของแผ่นอะคริลิกได้
  • โพลีคาร์บอเนต
    แผ่นโพลีคาร์บอเนต จะมีให้เลือกด้วยกัน 3 รูปแบบคือ แบบแผ่นตัน, แผ่นกลวง, และแผ่นลอน และมีให้เลือกทั้งแบบขุ่น แบบใส และผิวส้ม คุณสมบัติเด่นคือ สามารถดัดโค้งได้ง่าย มีน้ำหนักเบา มีให้เลือกหลายเกรดและหลายราคา มีความสวยงามเหมือนกระจกจริง
  • ข้อดี
    • มีน้ำหนักเบา
    • มีความยืดหยุ่น สามารถดัดโค้งได้ตามความต้องการ
    • ประหยัดโครงสร้าง ติดตั้งง่าย
  • ข้อด้อย
    • บางประเภทมีราคาสูง
    • ลดเสียงรบกวนจากฝนได้น้อย
    • น้ำเข้าง่าย อาจก่อให้เกิดเชื้อรา แผ่นกลวง
    • มีอายุการใช้งานประมาณ 7-10 ปี
  • ข้อควรระวัง
    • แผ่นโพลีคาร์บอเนตแบบกลวงมักจะมีช่องว่าง อาจเป็นจุดที่ทำให้ความชื้นสะสม ทำให้เกิดคราบสกปรกหรือเชื้อราได้ง่าย ซึ่งสามารถใช้งานแบบแผ่นตันและแบบลอน
    • ทดแทนได้
    • หากใช้งานไปนาน ๆ พื้นผิวจะขุ่นมัว และสีอาจจะซีดจางไปตามอายุการใช้งาน
  • หลังคากระจก
    หลังคากระจก เป็นวัสดุที่ใช้สำหรับการทำหลังคาโปร่งแสงแบบดั้งเดิม ซึ่งได้รับความนิยมเป็นอย่างมากในอดีต มีให้เลือกด้วยกัน 2 ประเภทคือ กระจกแบบลามิเนต และกระจกเทมเปอร์ แต่ส่วนมากแล้วกระจกลามิเนตจะได้รับความนิยมมากกว่า ซึ่งกระจกลามิเนต จะมีคุณสบัติเด่นคือ เปราะแตกได้ยาก หากเทียบกับกระจกทั่วไป มีความหนา ลดเสียงรบกวนจากฝนตกได้เป็นอย่างดี ซึ่งสิ่งที่ทำให้กระจกได้รับความนิยมในการทำหลังคาหรือกันสาด คือ มีความโปร่งแสง โปร่งใสมากที่สุด เห็นบรรยากาศภายนอกได้อย่างชัดเจน แต่ก็ต้องแลกราคาที่สูงกว่าวัสดุประเภทอื่น
  • ข้อดี
    • มีความสวยงาม สามารถออกแบบได้อย่างหลากหลาย
    • มีอายุการใช้งานที่ยาวนาน
    • ลดเสียงรบกวนจากฝนได้ดี
  • ข้อด้อย
    • มีราคาสูง
    • อาจเกิดการแตกได้ง่าย จึงจำเป็นต้องมีโครงสร้างที่แข็งแรง
  • ข้อควรระวัง
    • ควรติดตั้งด้วยช่างผู้เชี่ยวชาญเท่านั้น
    • ควรหมั่นทำความสะอาดเป็นประจำ เพราะจะสกปรกได้ง่าย โดยอาจเคลือบน้ำยาลดการเกิดคราบน้ำเพื่อลดความถี่ในการทำความสะอาด
    • มีโครงสร้างรองรับที่แข็งแรง ใช้ยาแนวซิลิโคนให้ถูกประเภทและมีคุณภาพ 

ทั้งหมดนี้ก็เป็นความแตกต่างของหลังคาโปร่งแสงแต่ละประเภท ซึ่งเราก็ได้เปรียบเทียบทั้งข้อดีและข้อด้อยของแต่ละประเภทให้เห็นกันแบบชัดเจน หลังคาโปร่งแสงที่วางจำหน่ายทั่วไปในท้องตลาดก็จะมีอยู่หลายเกรดด้วยกัน ผู้ใช้งานควรเลือกใช้สินค้าและวัสดุที่มีมาตรฐาน มีการรับประกันการใช้งาน และเลือกผู้จำหน่ายที่เชื่อถือได้ อย่างที่

ธนวัฒน์การช่าง สาขา 2 ช่างปอง ที่ให้บริการเกี่ยวกับการติดตั้งหลังคาโปร่งแสง ที่ใช้วัสดุคุณภาพสูงในราคาที่จับต้องได้ มีบริการติดตั้งถึงที่ พร้อมทั้งประเมินหน้างานฟรีโดยทีมช่างมืออาชีพ และผู้นำด้านบริการติดตั้งหลังคาโมเดิร์น หลังคาโปร่งแสง หลังคาไวนิล หลังคาเมทัลชีทราคาประหยัดด้วยการเน้นใช้วัสดุคุณภาพสูง เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการทำหลังคา หรือต่อเติมหลังคา รวมไปถึงงานซ่อมบำรุงต่าง ๆ อีกหนึ่งตัวเลือกอันดับต้น ๆ สำหรับลูกค้าที่ต้องการหลังคาที่น่าเชื่อถือและคุ้มค่า ทางร้านยินดีให้คำปรึกษาเรื่องการติดตั้งหลังคาเมทัลชีท หลังคาโปร่งแสง และการติดตั้งหลังคารูปแบบอื่น ๆ ด้วยความยินดี 

สอบถามรายละเอียดข้อมูลเกี่ยวกับหลังคาโปร่งแสงราคาจับต้องได้ ติดต่อ
โทรศัพท์ : 085-351-9559 ช่างปอง 096-982-2424 ช่างเก๋
Line : @TW09
Facebook : ธนวัฒน์การช่าง สาขา2